ประตูโทริอิทองสัมฤทธิ์
เมื่อข้ามสะพานเอโนะชิมะเบ็นเท็มบาชิก็จะพบกับประตูโทริอิทองสัมฤทธิ์ในทันที เดิมทีประตูนี้สร้างด้วยไม้ แต่ในปี 1821 ถูกสร้างใหม่ด้วยทองสัมฤทธิ์ โดยชื่อของผู้ที่มาทำบุญจะถูกสลักเอาไว้บนนั้น ประตูนี้ได้รับเลือกให้เป็นมรดกทางวัฒนธรรมประจำเมืองฟุจิซาวะ

ถนนเบ็งไซเท็งนากามิเสะ
ตั้งแต่ประตูโทริอินี้ไปจนถึงประตูโทริอิสีแดงที่หน้าประตูซุยอิงมงจะเรียงรายไปด้วยร้านอาหาร, ร้านขายของที่ระลึก, เรียวกังจนถึงหน้าประตูศาลเจ้าเอโนะชิมะ ผู้คนเรียกที่นี่ว่าถนนเบ็งไซเท็งนากามิเสะ

ประตูเทพเจ้าแห่งศาลเจ้าเอโนะชิมะ
ถูกสร้างขึ้นด้วยรูปแบบวังมังกรและถูกเรียกขานว่า “ประตูซุยอิงมง” ซึ่งเป็นชื่อที่ถูกตั้งขึ้นเพื่อให้ผู้มาเยี่ยมเยือนสักการะศาลเจ้าด้วยจิตใจอันบริสุทธิ์

หอโฮอันเด็ง
หอโฮอันเด็งที่ประดิษฐานอยู่ข้างพระบรมมหาราชวังมีต้นแบบมาจากหอยูเมะโดโนะของวัดโฮริวจิใน จ.นาระ จากนั้นจึงมีการเพิ่มเทพีเบ็งไซเท็งปางแปดหัตถ์ที่มีการเล่าขานกันว่าโชกุนมินาโมโตะ โยริโทโมะให้การสักการะในช่วงปีจูเช (ปี 1182) และเทพีเบ็งไซเท็งปางดีดพิณซึ่งได้รับการนับถือในยุคเอโดะ
*การบูรณะซ่อมแซมได้แล้วเสร็จเมื่อวันที่ 24 ตุลาคม 2015
ค่าเข้าชม: ผู้ใหญ่ 150 เยน / นักเรียนมัธยม 100 เยน / เด็ก 50 เยน

เทพีเบ็งไซเท็งปางดีดพิณ
รูปปั้นปางร่างเปลือยหรือที่นิยมเรียกกันว่า “เบ็งไซเท็งปางร่างเปลือย” เป็นรูปปั้นที่แสดงสัญลักษณ์ของเพศหญิง คาดกันว่าถูกสร้างขึ้นในช่วงกลางของยุคคามาคุระ โดยรูปปั้นเปลือยเป็นเทคนิคประติมากรรมที่โดดเด่นของคามาคุระ ทั้งนี้ยังรู้จักกันดีในฐานะเทพแห่งอักษรศาสตร์ นาฏกรรม และดนตรี
เบ็งไซเท็งคือใคร ?
ศาลเจ้าเอโนะชิมะได้รับการกล่าวขานว่าเป็น 1 ใน 3 ศาลเจ้าเบ็งไซเท็งที่ใหญ่ที่สุดในญี่ปุ่นร่วมกับศาลเจ้ามิยาจิมะแห่ง จ.ฮิโรชิมะ, ศาลเจ้าจิคุบุชิมะแห่ง จ.ชิกะ
เบ็งไซเท็ง เดิมทีแล้วเป็นเทพเจ้าแห่งน้ำของอินเดีย ส่วนญี่ปุ่นเริ่มนับถือเทพีเบ็งไซเท็งมาตั้งแต่ยุคนารา

เทพีเบ็งไซเท็งปางแปดหัตถ์ (รูปปั้นไม้แกะสลักเทพีเบ็งไซเท็งหลากสี)
บริเวณพระเศียรมีเทพอุงาจินสถิต พระหัตถ์ทั้งแปดถือธนู, ลูกศร, ดาบ, แก้วหยดน้ำ, จักร, หอก, ตรีศูล, กุญแจ ซึ่งเทพีเบ็งไซเท็งปางแปดหัตถ์ถือเป็นประเภทเก่าแก่ที่สุดเป็นหนึ่งใน “เทพแห่งโชคลาภทั้งเจ็ด” และรู้จักกันดีในฐานะเทพีแห่งสงคราม

“ตุลสามส่วน” ซึ่งแสดงถึง “ตุลสามส่วนในวงคลื่น”
อิงจากบันทึก “ไทเฮกิ” ในตอนที่ขุนพลโฮโจว โทคิมาสะซึ่งปกครองรัฐบาลทหารคามาคุระในปีเคงคิวที่สาม (ปี 1190) มา*สักการะถ้ำแห่งเอโนะชิมะ (ปัจจุบันคือถ้ำอิวายะ) เพื่อขอให้ลูกหลานเจริญรุ่งเรือง ก็ปรากฏเทพีเบ็งไซเท็งขึ้นในคืนครบกำหนดขอพร เทพีเบ็งไซเท็งให้สัญญาว่าจะทำให้พรที่โทคิมาสะขอเป็นความจริงก่อนจะกลายร่างเป็นงูยักษ์และหายตัวไปในท้องทะเล เหลือทิ้งไว้เพียงตุลสามส่วน โทคิมาสะจึงใช้มันเป็นตราประจำตระกูล
*การสักการะขอพรกับศาลเจ้าหรือวัดเพื่อขอพรในช่วงระยะเวลาหนึ่ง